ไขข้อข้องใจ…ทำไมต้องหมวกกัน UV?

ไขข้อข้องใจ…ทำไมต้องหมวกกัน UV?

ทำไมต้องหมวกกัน UV

คุณรู้หรือไม่ว่า แสงแดดที่เราต้องออกไปพบเจอกันอยู่ทุกวันนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากความร้อนที่แผดเผาผิวหนังและแสงที่เจิดจ้าจนแสบตานั้นแล้ว ยังมีอันตรายอะไรซ่อนอยู่อีกบ้าง? เรามาไขข้อข้องใจกันเลยดีกว่า

แสงแดดหรือแสงอาทิตย์นั้น ประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหลายคลื่นด้วยกัน

ในขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ความยาวคลื่นบางช่วงจะถูกดูดซับหรือไม่ก็สะท้อนกลับออกไป  ส่วนรังสีที่เหลือก็จะผ่านลงมาสู่พื้นผิวโลก เช่น รังสี UV และรังสีอินฟาเรด เป็นต้น

 รังสี UV หรือ รังสีอัลตร้าไวโอเลต เป็นรังสีที่เกี่ยวข้องกับพวกเรามากที่สุดในชีวิตประจำวัน เพราะมันสามารถทะลวงผ่านชั้นผิวหนังของเราได้   และเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ตามมา เช่น ผิวหมองคล้ำ ริ้วรอย ตีนกา มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

รังสี UV แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท มีอะไรบ้าง?

  • รังสี UVC

เป็นรังสีที่มีพลังงานมากที่สุด และอันตรายที่สุด แต่รังสีนี้เกือบทั้งหมดจะถูกกรองที่ชั้นบรรยากาศของโลก แม้ปริมาณเพียงน้อยนิด ก็สามารถทำลายผิวหนังได้

  • รังสี UVB

มีค่าพลังงานมาก ทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังได้ในทันที ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม ทั้งยังสามารถทำลาย DNA และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

  • รังสี UVA

รังสีช่วงนี้จะมีค่าพลังงานต่ำสุด แต่มีอำนาจทะลุทะลวงผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกที่สุด และมีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโครงสร้างชั้นผิวหนัง หากสัมผัสในระยะเวลานาน และต่อเนื่องจะทำให้เซลล์ผิวหนังอ่อนล้า เสื่อมเร็ว แลดูเหี่ยวย่น จนถึงระดับรุนแรงที่อาจเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นได้

ทำไมต้องหมวกกัน UV

ดังนั้น การสัมผัสกับแสงแดดนานๆ โดยเฉพาะรังสี UV ทำให้เกิดผิวหนังหมองคล้ำ หย่อนยาน เกิดรอยตีนกามากมาย ทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่า แก่ก่อนวัย

ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรหาตัวช่วยที่จะมาปกป้องผิวหนังของเราเวลาต้องออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือต้องเผชิญกับแสงแดด เช่น หมวก แว่นตา ครีมกันแดด ร่ม หรือเสื้อแขนยาว และแน่นอน “หมวก” ก็เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยปกป้องผิวหน้าและหนังศีรษะของเราให้ปลอดภัยจากแสงแดดและรังสี UV ได้

นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรใส่หมวกที่สามารถกันรังสี UV ได้ดี มากกว่าเพียงแค่กันแดดได้เท่านั้น

และหมวกกันรังสี UV ที่ดี ควรผลิตจากวัสดุผ้าที่มีคุณภาพ สามารถปิดกั้นรังสีทั้ง UVA และ UVB ได้ไม่ต่ำกว่า 97-99% และที่สำคัญ ควรผ่านการทดสอบการส่องรังสีอัลตร้าไวโอเลตผ่านผ้าที่เป็นมาตรฐานด้วยนะคะ

 

Credit:

http://www.brecosmeticlab.com/newslet/51/04_apr/007_uv_effect.html

http://www.thaiumbrella.com

https://th.wikipedia.org

แชร์ไปยัง
Language »
Scroll to Top